สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย ข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๐
๑.สิบเถื่อนพร้าบ่เต้าคมขวาน หลานสิบคนบ่เต้าลูกเต้า.
๑.สิบเถื่อนพร้าบ่เต้าคมขวาน หลานสิบคนบ่เต้าลูกเต้า.
ความหมาย มีดคมสิบเล่มก็ไม่เท่าคมขวานเล่มอื่น (คนอื่น) หลายสิบ
คนไม่เท่าลูกในไส้คนเดียว.
๒. อ่อนไหนแตง แข่งไหนเว้น.
ความหมาย หากทำอ่อนแอก็มักถูกกดขี่ แต่หากแข็ง ก็มักรอดตัวไป.
๓. เฒ่าแก่แล้ว บ่ต้องมีไผมาสอน ไม้ขอนนอนมันตึงบ่ตั้ง.
ความหมาย คนแก่แล้วไม่ต้องสั่งสอน เช่นเดียวกันกับต้นไม้เมื่อมันล้ม
ไปแล้ว ไม่ต้องไปตั้งให้มันเหมือนเดิมหรอก.
๔.เปิ้นว่าเสือ ตั๋วว่าพระเจ้า เปิ้นว่าบ่เลา ตั๋วว่างามล้ำ.
ความหมาย เขาว่าเสือ เราว่าพระเจ้า เขาว่าไม่งาม แต่เราว่างาม ดังนี้
เขาว่าพูดกันก็ขัดกัน ไม่มีประโยชน์.
๕. คนใหญ่แล้วบ่ต้องมาสอน จี้ฮีดแมงจอน ไผสอนมันเต้น(เอง).
ความหมาย คนเราโตแล้วไม่ต้องสั่งสอนกัน ดูจิ้งหรีดแมงกระชอน ใคร
ไม่ได้สอนให้มันเต้น มันยังเต้นได้.
๖. ตุ้มผ้าลายหมาจั้งเห่า ค้นคำเก่าจั้งผิดกัน.
ความหมาย ห่มผ้าลายหมาเห่า พูดเรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมามักจะทำให้
ทะเลาะกัน ไม่ควรทำ.
๗.อดส้มกิ๋นหวาน อดสานได้ซ้า.
ความหมาย ให้รู้จักเป็นคนที่อดทนในการทำงานต่างๆ แล้วจะได้สิ่งที่
ตนเองปรารถนา เหมือนกับสุภาษิตทางภาคกลางที่กล่าวว่า “ช้าๆได้
พร้าเล่มงาม”.
๘.เสียมบ่คม หื้อใส่ด้ามหนั๊กๆ ความฮู้บ่นั๊ก หื้อหมั่นฮ่ำหมั่นเฮียน.
ความหมาย จอบไม่คมให้ใส่ด้ามหนักๆ ความรู้ไม่มากให้หมั่นเรียน
หนังสือ.
๙. บ่ดีกิ๋นก่อนตาน บ่ดีมานก่อนแต่ง.
ความหมาย กินของก่อนจะทำบุญ ตั้งครรภ์ก่อนแต่งงาน ไม่ดี.
๑๐. เป๋นคนหื้อมืนตากว้าง ผ่อตางไปไกล๋.
ความหมายว่า จะมองอะไรให้มองการณ์ไกล ไม่ควรมองสั้น การมอง
ไกลอย่างน้อยเราก็รู้ว่ามีอะไรขวางหน้าอยู่ ถ้ามองใกล้ ย่อมทำให้ผิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น