::: ขอเรียนเชิญท่านทานบดีผู้ใจบุญใจกุศลร่วมบริจาคปัจจัยตามแต่จะศรัทธาร่วมกิจกรรมกับทางวัดรัตนาราม(วัดต้นแก้ว) คือ 1.เป็นเจ้าภาพซื้อที่ดินเพื่อขยายอาณาเขตของวัดเพื่อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา 2. เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนของท่านอดีตเจ้าอาวาส พระครูปัญญาวชิรธรรม ติดต่อได้ที่ พระอธิการคะนอง ภทฺทวโร เจ้าอาวาส โทร. 053-297-071, 081-796-6669, 081-235-6970

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

สุภาษิต-คำพังเพยล้านนาไทย ตอน ๒

สุภาษิต-คำพังเพยล้านนาไทย ตอน ๒

๑.กล้าล้ำจ้างต๋าย อายล้ำจ้างต้าว
( กล้านักมักตาย อายนักมักล้ม)

๒.กินหื้อปอต้อง  หย้องหื้อปอตั๋ว
(กินให้พอท้อง แต่งให้พอตัว)

๓.กินนักหื้อเต้าป๋ายก้อย กิ๋นน้อยหื้อเต้าหัวแม่มือ
(กินมากให้เท่านิ้วก้อย กินน้อยให้เท่าหัวแม่มือ)

๔.เก็บผักหื้อเอาตึงเคือ เก็บมะเขือหื้อเอาตึงขวั้น
(เก็บผักให้เอาทั้งเครือ เก็บมะเขือให้เอาทั้งขั้ว)

๕.แก่นต๋าตั๋วควักออก เอามะกอกเข้ายัด
(ลูกตาตนควักออก เอามะกอกใส่แทน)

๖.ของกิ๋นลำอยู่ที่คนมัก ความฮักอยู่ตี้ความเปิงใจ๋
(ของอร่อยอยู่ที่ผู้ชอบ ความรักอยู่ที่ผู้พอใจ)

๗.ขี้โลภปันเสีย ขี้เหลือปันได้
(คนขี้โลภมักเสีย คนเอื้อเฟื้อมักได้)

๘.คนง่าวผ่าไม้ตางต๋า คนมีผะญ๋าผ่าไม้โล่งป้อง
(คนโง่ผ่าไม้ทางข้อตา คนมีปัญญาผ่าไม้ตามยาว)

๙.คนหล๊วกก๊าไก้ คนใบ้ก๊าไก๋
(คนฉลาดค้าขายใกล้ คนฉลาดค้าขายไกล)

๑๐.จะนั่งหื้อผ่อตี้ จะหนีหื้อผ่อก้น
(ก่อนจะนั่งให้ดูที่ ก่อนจะลุกหนีให้ดูก้น)

๑๑.ดอกกำลังจี๋ อย่าไปตี๋ให้มันบาน
(ดอกไม่ทันแย้ม อย่าคลี่ให้บาน)

๑๒.ตกต่าเปิ้นดีไคร่หัว ตกต่าตัวเป๋นดีไคร่ไห้
(ถึงทีเขาอยากหัวเราะ ถึงทีตัวเองอยากร้องไห้)

๑๓.ตุ๊กอย่าไปหนี มีอย่าไปอวด
(เมื่อมีความทุกข์อย่าหนี เมื่อมั่งมีอย่าอวด)

๑๔.แป๋งผิดไปถึงลูก แป๋งถูกไปถึงหลาน
(ทำผิดติดไปถึงลูก ทำถูกต้องสนองถึงหลาน)

๑๕.ไปเมืองบนหันคนขี่จ้าง ไปเมืองเมืองล่างหันจ้างขี่คน
(ไปเมืองบนเห็นคนขี่ช้าง ไปเมืองล่างเห็นช้างขี่คน)

๑๖.พริกมีบ้านเหนือ เกลื๋อมีบ้านใต้
(พริกมีบ้านเหนือ เกลือมีบ้านใต้)

๑๗.มารบ่มี บารมีบ่แก่
(ถ้าปราศจากมาร บารมีก็ไม่แก่กล้า)

๑๘.เยี้ยะก๋านเมื่อตอน ดีกว่านอนวันค่ำ
(ทำงานเวลาเที่ยงวัน ดีกว่าเลี่ยงไปนอนทั้งวัน)

๑๙.หมาหลวง ก๊านหมาหลาย
(หมาตัวใหญ่ตัวเดียว แพ้หมาตัวเล็กหลายตัว)

สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย ข้อ ๑๙ ถึง ข้อ ๒๘

             สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย  ข้อ ๑๙ ถึง ข้อ ๒๘

๑๙.เยี้ยะก๋านอย่าไปเยี๊ยะเอ็นยาน จะบ่ตันกินเปิ้น.

ความหมาย เวลาทำงานอย่าเฉื่อยชา ขี้เกียจจะไม่ทันเพื่อนเขา ในเมื่อ

คนเราทำงาน เราต้องขยันด้วย จึงจะทัน

เขา.


๒๐. ดำน้ำหื้อถึงทราย นอนหงายหื้อหันฟ้า.

ความหมาย ทำอะไรให้ทำจริงๆ ดำน้ำก็ให้ดำถึงทราย นอนหงายก็ให้

เห็นท้องฟ้า อย่าตะแคงจะมองไม่เห็นตามที่

เราต้องการ.


๒๑. ใคร่หล๊วกหื้ออยู่ใกล้นักปราชญ์.

ความหมาย อยากมีความรู้ ให้อยู่ใกล้กับผู้มีความรู้ หรือนักปราชญ์.


๒๒. ใคร่เป๋นเจ้าหื้อหมั่นเฮียนกุน ใคร่เป๋นขุนหื้อหมั่นเฝ้าเจ้า.

ความหมาย อยากเป็นเจ้าเป็นนายใหมั่นเล่าเรียนหาความรู้ใส่ตัว อยาก

เป็นขุนนางให้หมั่นใกล้ชิดเจ้านาย.


๒๓. ใคร่เป๋นเศรษฐีหื้อหมั่นก๊า ใคร่เป๋นขี้ข้าหื้อหมันเล่นพ้ายหลังหลาย.

ความหมาย อยากเป็นเศรษฐีให้หมั่นไปค้าขาย อยากเป็นขี้ข้าให้หมั่น

เล่นการพนัน.


๒๔. จุ่งอดขันติหื้อแป๋งใจ๋ดี เหมือนน้ำตึงห้า.

ความหมาย ให้มีความอดทน ทำใจให้เยือกเย็น เหมือนแม่น้ำทั้งห้า

(คงคา,ยมุนา,สรภู, อจิรวดี.มหี).


๒๕.เกิดมาเป๋นคนเข้าห้วยใดก็หื้อมันสุด ขุดห้วยใดก็หื้อมันตึ๊ก.

ความหมาย เกิดเป็นคนต้องหมั่นมานะ อดทน พยายามทำทุกสิ่ง

ทุกอย่างจนสุดกำลังให้สำเร็จ เปรียบประดุจเข้า

ไปในห้วย ก็เข้าไปถึงที่สุด จะเข้าจุดสิ่งใดก็เข้าขุดให้มันถึงที่สุด.


๒๖. เปื้อนกอบหื้อเฮาก๋ำ เปื้อนก๋ำหื้อเฮากอบ.

ความหมาย ให้สามัคคีกัน ทำอะไรต้องช่วยกัน ไม่ขัดกัน ต้องเคารพ

นับถือซึ่งกันและกัน.


๒๗. บุรุษจ้าดเจื้อ ลิ้นเดียวใจหล๋าย คำฟู่ของจาย เหมือนสายน้ำกว้าง.

ความหมาย ผู้ชายมีลิ้นเดียวแต่หลายใจ เชื่อถือไม่ได้ เปรียบประดุจสาย

น้ำที่กว้างใหญ่.


๒๘. ลูกผัวเป็นเจ้า นอนลูนลุกเจ๊า แต่งคาบข้าวงายตอน.

ความหมาย หญิงถือว่าผัวและลูกเป็นนาย ตนควรนอนทีหลัง และลุก

แต่เช้าเพื่อหาข้าวปลาไว้คอยท่า.


สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย ข้อ ๑๑ ถึง ข้อ ๑๘

             สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย  ข้อ ๑๑ ถึง ข้อ ๒๐

          ๑๑. บ่ดีเลี้ยงคนต่างด้าว บ่ดีเลี้ยงท้าวต่างแทน บ่ดีดูแคลนคนตกทุกข์.

  ความหมาย ไม่ควรไว้ใจคนที่เรายังไม่รู้จัก และอย่าดูถูกคนที่ทุกข์ยาก

  ไม่แน่ว่าต่อไปเขาอาจจะได้เป็นใหญ่.


๑๒. คนมาใหม่ อย่าได้ไจ๋ก๋าน ลูกเมียมาน อย่าได้ไปก้า

ความหมาย คนที่มาอยู่ใหม่ เรายังไม่รู้จักนิสัยใจคอ อย่าเพิ่งใช้งาน เมีย

กำลังท้องอย่าได้ไปค้าขาย เพราะไว้ใจใครไม่ได้ เหมือนกับตัวเราคอย

ดูแลเอง.


๑๓. แมวบ่ลี้บ่ได้กินหนู ป๋าเหยี่ยนอยู่ฮู ยังตายถูกส้อม.

ความหมาย แม้แมวจะจับหนู ก็ต้องแอบซ่อน มิเช่นนั้น จะไม่ได้กินหนู

แม้แต่ปลาไหลอยู่ในรู ก็ยังมิวายจะถูกแทงตาย ดังคำที่ว่า “อย่าได้

ประมาท”.


๑๔. เสียเงินเสียคำ ยังฮิหาได้ ของอยู่ใต้ยังลุ่มวิสัยเสีย

ความหมายนั้น เงินทองนั้นเป็นของนอกกาย ถ้าไม่ตายหาเอาเมื่อไหร่ก็

ได้ แต่คนที่มีน้ำใจ จะหาที่ไหนไม่ได้ ควรจะรักษาน้ำใจกันไว้ การใดที่ทำ

ไปแล้ว ถ้าเป็นการเสียน้ำใจกัน ไม่ควรทำ.


๑๕. ยามเมื่อเป๋นดี มีเก้าป้าสิบป้า เสื้อปุดหลังขาดหน้า มีป้าคนเดียวก็

หาบ่มี.

ความหมาย ยามมั่งมีศรีสุข มีญาติพี่น้องมากมาย แต่พอยากจน ญาติ

พี่น้องก็พากันตีจากไปหมด.


๑๖. งัวควายจ้างม้า ตายแล้วเหลือหนัง

ดูกขนเขายัง เอาไจ้ก๋านได้

จ๋าที่สุดเหลือปุ๋มและไส้ คนยังกิ๋นลำอิ่มต้อง

มนุษย์เฮาตายสหายปี้น้อง ไผบ่ห่วงข้องอาลัย

แม้แต่ดูกพั๊วะ เขายังขว้างไกล

กลัวจักเป็นภัย ผีจักหลอกได้

ความชั่วรีบหนี ความดีรีบใกล้

ต๋ายแล้วจื้อหากตึงยัง.

ความหมาย วัว ควาย ช้าง ม้า เมื่อตายไปแล้ว อวัยวะคือ งา หรือ เขา ก็

ยังมีประโยชน์ มีราคาแพง แต่คนเรานั้น เมื่อตายไปแล้ว ก็มีแต่คุณงาม

ความดี หรือความชั่วเท่านั้นที่โลกกล่าวขวัญถึง.


๑๗.ป้อจายลุกเจ้า หื้อผ่อสี่แจ่งบ้าน

แม่หญิงลุกเจ้า หื้อผ่อสี่แจ่งเฮือน.

ความหมาย ความรับผิดชอบของสามีภรรยานั้น สามีต้องดูแลความเป็น

อยู่ของครอบครัว ส่วนภรรยาต้องดูแลความเป็นไปภายในบ้าน งานการ

ในบ้านต้องเรียบร้อย.


๑๘.อย่าไปนั่งถ้าก๋าน อย่าไปห้อเปิ้นวาน เปิ้นไจ้ไปนอนถ้าไข้ใ

ความหมาย อย่าไปนั่งรองานที่จะทำ มีงานอะไรให้รีบๆทำเสีย.

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย ข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๐

สุภาษิตคำพังเพย ของล้านนาไทย ข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๐


๑.สิบเถื่อนพร้าบ่เต้าคมขวาน หลานสิบคนบ่เต้าลูกเต้า.

ความหมาย มีดคมสิบเล่มก็ไม่เท่าคมขวานเล่มอื่น (คนอื่น) หลายสิบ

คนไม่เท่าลูกในไส้คนเดียว.


๒. อ่อนไหนแตง แข่งไหนเว้น.

ความหมาย หากทำอ่อนแอก็มักถูกกดขี่ แต่หากแข็ง ก็มักรอดตัวไป.


๓. เฒ่าแก่แล้ว บ่ต้องมีไผมาสอน ไม้ขอนนอนมันตึงบ่ตั้ง.

ความหมาย คนแก่แล้วไม่ต้องสั่งสอน เช่นเดียวกันกับต้นไม้เมื่อมันล้ม

ไปแล้ว ไม่ต้องไปตั้งให้มันเหมือนเดิมหรอก.


๔.เปิ้นว่าเสือ ตั๋วว่าพระเจ้า เปิ้นว่าบ่เลา ตั๋วว่างามล้ำ.

ความหมาย เขาว่าเสือ เราว่าพระเจ้า เขาว่าไม่งาม แต่เราว่างาม ดังนี้

เขาว่าพูดกันก็ขัดกัน ไม่มีประโยชน์.


๕. คนใหญ่แล้วบ่ต้องมาสอน จี้ฮีดแมงจอน ไผสอนมันเต้น(เอง).

ความหมาย คนเราโตแล้วไม่ต้องสั่งสอนกัน ดูจิ้งหรีดแมงกระชอน ใคร

ไม่ได้สอนให้มันเต้น มันยังเต้นได้.


๖. ตุ้มผ้าลายหมาจั้งเห่า ค้นคำเก่าจั้งผิดกัน.

ความหมาย ห่มผ้าลายหมาเห่า พูดเรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมามักจะทำให้

ทะเลาะกัน ไม่ควรทำ.


๗.อดส้มกิ๋นหวาน อดสานได้ซ้า.

ความหมาย ให้รู้จักเป็นคนที่อดทนในการทำงานต่างๆ แล้วจะได้สิ่งที่

ตนเองปรารถนา เหมือนกับสุภาษิตทางภาคกลางที่กล่าวว่า “ช้าๆได้

พร้าเล่มงาม”.


๘.เสียมบ่คม หื้อใส่ด้ามหนั๊กๆ ความฮู้บ่นั๊ก หื้อหมั่นฮ่ำหมั่นเฮียน.

ความหมาย จอบไม่คมให้ใส่ด้ามหนักๆ ความรู้ไม่มากให้หมั่นเรียน

หนังสือ.


๙. บ่ดีกิ๋นก่อนตาน บ่ดีมานก่อนแต่ง.

ความหมาย กินของก่อนจะทำบุญ ตั้งครรภ์ก่อนแต่งงาน ไม่ดี.


๑๐. เป๋นคนหื้อมืนตากว้าง ผ่อตางไปไกล๋.

ความหมายว่า จะมองอะไรให้มองการณ์ไกล ไม่ควรมองสั้น การมอง

ไกลอย่างน้อยเราก็รู้ว่ามีอะไรขวางหน้าอยู่ ถ้ามองใกล้ ย่อมทำให้ผิด

พลาดได้มากกว่า.



วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมแสดงพระธรรมเทศนาใน วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)



กิจกรรมแสดงพระธรรมเทศนาใน วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

กุฎิสงฆ์ วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)


กุฎิสงฆ์ วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

หอกลองเพล วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)



หอกลองเพล วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

หอกลองทำวัตร วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

หอกลองทำวัตร วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

เจดีย์เก่า วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

วิหารหลังเล็ก:วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

วิหารหลังเล็กวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

วิหารเก่าแก่มาก:ศาสนวัตถุในวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

วิหารเก่าแก่มาก

เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันของวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)



พระอธิการคะนอง ภทฺทวโร
พระคุณท่านสำเร็จการศึกษาแบบเดิมของคณะสงฆ์คือนักธรรมชั้นเอก
สำเร็จปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต และปริญญาโท ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันของวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

ประวัติวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

ประวัติวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

วัดรัตนาราม(วัดต้นแก้ว) ตามคำกล่าวของพระอธิการคะนอง ภทฺทวโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านบอกว่า เป็นวัดโบราณ มีความเป็นมาย้อนไปถึงปี พ.ศ. ๒๓๓๑ มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี เดิมมีชื่อว่า “วัดบ้านต้นตื๋น” เพราะที่หมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของวัดมี”ต้นตื๋น” ขึ้นให้เห็นอยู่ทั่วไปรวมทั้งในบริเวณวัดด้วย  ครั้นกาลต่อมาได้มีคนนำ”ต้นแก้ว”มาปลูกในวัดและต้นแก้วนี้ก็เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่มากและก็ส่งกลิ่นหอมไปทั่ว ผู้คนก็เลยเปลี่ยนชื่อจาก ”วัดต้นตื๋น” มาเป็น “วัดต้นแก้ว” ในภายหลังวัดต้นแก้วนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นภาษาบาลีว่า “วัดรัตนาราม” ซึ่งเป็นคำสมาสและสนธิของคำสองคำ คือ รัตนะ และ อาราม ซึ่งรัตนะ แปลว่า แก้ว อาราม แปลว่า วัด แต่ก็ยังใส่ชื่อเดิมไว้ในวงเล็บหลังชื่อทางการที่เป็นภาษาบาลี  ปัจจุบันก็ยังมีต้นแก้วใหญ่ปรากฏอยู่ที่ข้างต้นโพธิ์หน้ากำแพงวัดให้เห็นเป็นประจักษ์พยานถึงความเป็นมาของชื่อวัด  และประชาชนทั่วไปก็ยังนิยมเรียกชื่อวัดเป็นภาษาปากอย่างเดิมว่า “วัดต้นแก้ว” วัดรัตนาราม(ต้นแก้ว) สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดรัตนาราม(ต้นแก้ว)
     
          ๑. พระครูบามณี  (พ.ศ. ๒๓๓๑-๒๓๕๐)                     
          ๒. พระครูบาธรรม(พ.ศ. ๒๓๕๐-๒๓๗๔)
     
๓. พระครูบาวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๗๔-๒๔๑๗)
     
๔. พระครูบาจันต๊ะ(พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๔๓)

     
๕. พระศรีแก้ว  คนฺธวํโส(พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๔๗๑)
     
๖. พระคำมา(พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๘๔)
     
๗. พระครูวิวิธสังฆภาร(พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๕๒๓)
     
๘. พระสิงห์คำ  สุภาจาโร(พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔
)
     
๙. พระครูปัญญาวชิรธรรม(พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๕๑
)
    
  ๑๐. พระอธิการคะนอง  ภทฺทวโร(พ.ศ. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน)